จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีอะไรบ้าง
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีอะไรบ้าง
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียมีอะไรบ้าง
เชื้อจุลินทรีย์คืออะไร?
จุลินทรีย์คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้การศึกษา เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้
ความสำคัญของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์มีความสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากชุมชนหรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรม โดยมีบทบาทที่สำคัญคือการทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย เนื่องจากจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารในการเสริมสร้างเซลล์ใหม่ และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการดำรงชีวิต
ประเภทของจุลินทรีย์ที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย
จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria)
จุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์แบบที่สามารถใช้และไม่ใช้ออกซิเจน (Facultative Bacteria)
หลักการจัดการน้ำเสีย
หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญได้แก่การนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย
การรวบรวมน้ำเสีย (Collection)
การบำบัดน้ำเสีย (Treatment)
การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (Reuse and Reclamation)
เชื้อจุลินทรียฺที่พบในระบบบำบัดน้ำเสีย
เชื้อจุลินทรีย์ที่พบในระบบบำบัดน้ำเสียมีหลากหลายกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กลุ่มแบคทีเรีย กลุ่มฟังไจ กลุ่มโปรโตซัว และกลุ่มโรติเฟอร์ เป็นต้น โดยสิ่งมีชีวิตพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ดังนั้นหากเจอสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วละก็ หมายความว่าน้ำเสียของคุณจะผ่านการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน
ควรเติมเชื้อเท่าไหร่สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยปกติแล้วระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละที่จะมีปริมาณน้ำที่ไม่เท่ากัน สามารถคำนวณหาปริมาณเชื้อจุลินทรียที่จะเติมในระบบบำบัดของคุณง่ายๆ คิดเป็น 10% ของปริมาณน้ำเสียทั้งหมด
กลุ่มยีสต์ (Yeasts)
กลุ่มผลิตกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria)